นกหงส์หยก สีหายาก มีสีอะไรบ้าง?
วันนี้เรามีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนกหงส์หยกมาฝาก นกหงส์หยก(Parakeets) เป็นนกที่มีสีสันสดใส ตัวเล็ก หางยาว มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันที่ไทยเองก็นิยมเลี้ยงกันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสวยงามแล้วยังเลี้ยงง่าย น่ารักอีกด้วย
สีของนกหงส์หยก ตามเดิมในธรรมชาตินั้นจะมีอยู่ไม่กี่สี โดยสีที่มักพบเห็นกันทั่วไปจะเป็นสีเขียวและสีเหลือง ที่ปีกนกจะมีลายสีดำ แต่ปัจจุบันที่นิยมนำมาเลี้ยงกันมากขึ้น จึงทำให้เกิดการผสมพันธุ์กันเพื่อให้ได้สีแปลก โดยวันนี้เราจะมาแนะนำนกหงส์หยกสีหากยากกัน
นกหงส์หยกสีหากยาก
1. สีดำ (Anthracite Budgie)
ถือว่าเป็นสีที่หายากที่สุดเลยก็ว่าได้ ลักษณะโดยทั่วไปก็คือจะเป็นสีดำทั้งตัวไม่ว่าจะหัว คอ ปีก ลาย จะเป็นสีดำล้วน เนื่องจากเป็นสีที่ผสมยาก นกหงส์หยกสีดำนี้จึงมีราคาแพงมาก คาดว่าการเกิดพันธุ์นี้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมันและมักจะมีอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันนกหงส์หยกสีดำ (Anthracite) ส่วนใหญ่จะต้องนำเข้านกหงส์หยกเหล่านี้มาจากเยอรมัน
2. สีม่วง (Violet Budgie)
เป็นอีกหนึ่งสีหายากของนกหงหยกส์ ลักษณะโดยทั่วไปจะเหมือนนกหงส์หยกธรรมดานอกจากว่าตรงส่วนลำตัวที่ทั่วไปแล้วจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองนั้นจะเป็นสีม่วงนั่นเองสีม่วงส่วนมากจะอยู่ในพื้นหลังของขนของนก
สีม่วงเป็นผลจากการผสมสายพันธุ์ที่มีสีสันเขียวและสีน้ำเงิน นกหงส์หยกสีม่วงเป็นที่นิยมในวงการเลี้ยงนกหงส์หยกเนื่องจากความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ของสีสันที่น่าทึ่ง
3. สีขาวหรือเหลืองทั้งตัว (Lacewing Budgie)
เป็นการผสมกันระหว่สงพันธุ์สี lutino (สีเหลือง) และ albino (สีเผือก) นกที่เกิดจากการผสมพันธุ์นี้จึงไม่มีเม็ดสี melanin ทำให่ส่วนที่ปกติจะเป็นสีฟ้าหรือเขียวกลายเป็นสีเหลืองหรือขาวทั้งตัว
นกหงส์หยกสีขาวหรือเหลืองทั้งตัวเป็นนกที่มีความเป็นเอกลักษณ์และได้รับความนิยมในวงการเลี้ยงนกหงส์หยกเนื่องจากลวดลายสีสวยงามที่แตกต่างไปจากนกหงส์หยกสายพันธุ์อื่นๆ
4. สีรุ้ง (Rainbow Budgie)
นกหงส์หยกสีรุ้งจะไม่เหมือนสีอื่นๆ หงส์หยกสีรุ้งนี้ก็ตามชื่อสายพันธุ์เลยคือจะมีหลายสีในตัวเดียว ซึ่งส่วนมากขนของพันธุ์นี้จะผสมกันระหว่างสีฟ้า ม่วง เหลือง โดยสีจะมีลักษณะอ่อนๆ และแต่ละสีจะดูกลมกลืนกัน
การเกิดนกหงส์หยกสีรุ้งเกิดขึ้นจากการผสมสายพันธุ์ที่มีลักษณะสีต่างกัน นกหงส์หยกสีรุ้งเป็นที่นิยมในวงการเลี้ยงนกหงส์หยกเนื่องจากความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ของพันธุ์นี้
5. สีแบ่งครึ่ง (Half-sider Budgie)
พันธุ์นี้จะถูกแบ่งสีออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายและขวาโดยแบ่งจากกึ่งกลาง ซึ่งปกติแล้วครึ่งหนึ่งจะเป็นสีเขียว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะเป็นสีฟ้า
นกหงส์หยกสีแบ่งครึ่งเกิดจากการเกิดผิดปกติของสายพันธุ์ ทำให้ส่วนหนึ่งของร่างกายพัฒนาสีต่างจากส่วนอีกด้านหนึ่ง นกหงส์หยกสีแบ่งครึ่งมีความหายากในวงการเลี้ยงนกหงส์หยกอีกด้วย
6. นกหงส์หยกสีเเดง
นกหงส์หยกไม่มีสีแดงในร่างกาย สีหลักของนกหงส์หยกเป็นสีขาวสะอาด การพบภาพหรือข้อมูลที่กล่าวถึงนกหงส์หยกสีแดงอาจเกิดจากการแก้ไขภาพหรือการเปลี่ยนแปลงสีที่ไม่สอดคล้องกับสภาพจริงของนกหงส์หยกที่พบในธรรมชาติ
7. นกหงส์หยกชมพู
ยังไม่มีนกหงส์หยกสีชมพูในธรรมชาติ สีชมพูที่เห็นอาจเกิดจากการแก้ไขภาพหรือการเปลี่ยนแปลงสี สีหลักของนกหงส์หยกเป็นสีขาวสะอาด และอาจมีสีเพิ่มเติมบางส่วน เช่น สีเหลืองที่เท้าและขา สีดำที่หลังและปลายปีก สีส้มอ่อนที่หน้าและปลายปีก
นกหงส์หยก ราคาแพงที่สุด มีสีอะไรบ้าง?
นกหงส์หยกกลุ่มแบล็กวิง (Blackwing Budgerigar) เป็นกลุ่มสายพันธุ์นกหงส์หยกที่มีลายปีกสีดำเข้มที่น่าสนใจ ลายปีกดำเหล่านี้ทำให้นกหงส์หยกในกลุ่มนี้มีความเป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์เฉพาะตัว นกหงส์หยกกลุ่มแบล็กวิงมีจำนวนที่น้อยในโลก และมักจะมีการนำเข้ามาขายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เลี้ยงนกหงส์หยกที่หลงไหลในสีและลวดลายของกลุ่มนี้
บทความเกี่ยวกับนกอื่นๆที่น่าสนใจ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนกหงส์หยก
ราคาของนกหงส์หยกจะมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลายหมื่น ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสี
นกหงส์หยกเป็นสัตว์ที่ชอบเข้าสังคม ดังนั้นหากเป็นไปได้ก็แนะนำให้เลี้ยงเป็นคู่ และควรเลี้ยงกับนกหงส์หยกด้วยกันเท่านั้น แต่หากสะดวกเลี้ยงแค่ตัวเดียวก็สามารถเลี้ยงได้เช่นกัน เพียงแต่เจ้าของต้องขยันพูดคุยและเล่นกับนกด้วยเท่านั้น
นกหงส์หยกเป็นนกที่ต้องการพื้นที่โล่งและปลอดโปร่งเพื่อให้มีความสุขและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงอยู่ มีคำแนะนำต่อไปนี้:
พื้นที่โล่งและอากาศถ่ายเท: นกหงส์หยกควรได้รับพื้นที่โล่งอย่างเพียงพอที่จะสามารถบินและเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ การให้นกหงส์หยกอยู่ในคอกหรือกรงขนาดใหญ่จะเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อให้นกสามารถบินขึ้นบินลงและกระโดดได้อย่างอิสระ
รับแสงแดด: นกหงส์หยกต้องการรับแสงแดดเพื่อสุขภาพที่ดี ดังนั้นควรมีการจัดหาให้นกหงส์หยกได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม หรือสามารถพานกออกมาวางตัวในแสงแดดบ้างในระยะเวลาที่เหมาะสม
หลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ: นกหงส์หยกมีระบบทางเดินหายใจที่อ่อนแอ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงนกหงส์หยกในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น ใกล้ถนนหรือโรงงานที่มีควันบุหรี่หรือมลพิษอื่นๆ
นกหงส์หยกสามารถเลียนแบบเสียงคำพูดของมนุษย์บางส่วนได้ แต่สอนพูดเป็นประโยคยาก แต่สามารถสอนคำศัพท์ง่ายๆ 2-3 คำได้
นอกจากนี้ยังสามารถเลียนเสียงอื่นๆ เช่นเสียงกริ่งประตู เสียงไมโครเวฟ เสียงน้ำไหล หรือเสียงข้อความในโทรศัพท์ได้อีกด้วย
นกหงส์หยกตัวผู้มีความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์มากกว่าตัวเมีย
นกหงส์หยกสีที่แพงจะเป็นกลุ่มแบล็กวิง ซึ่งเป็นนกกลุ่มที่พัฒนาสีใหม่ มีลายปีกสีดำเข้ม และยังมีจำนวนน้อยอยู่ ซึ่งในประเทศไทยมีคนนำเข้ามาขายในราคาแพงสูงถึงตัวละ 40,000-50,000 บาท
ref: https://www.thairath.co.th/news/local/2312621 (updated: 11 Feb 2565)